1. พระปิดตาหลวงปู่หมุน รุ่นไตรมาส รวยทันใจ วัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ เนื้อผงพุทธคุณมวลสารเต็ม พร้อมกล่องเดิมจากวัด
มีพระเครื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งมีพุทธศิลปะ เป็นเอกลักษณ์แตกต่าง จากพระเครื่อง ประเภทอื่นๆ จนกลายเป็น ความโดดเด่น และได้รับความนิยม อย่างสูงยิ่ง ในหมู่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะ วงการพระเครื่อง ซึ่งรู้จักกันในนาม พระปิดตา ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้น นับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง นัย หรือ ปริศนาธรรม แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้ ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด ทวาร หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่ง เราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี ทวาร หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙ การ ปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น สรุปคําว่าพระปิดตา ชนิดของพระปิดตาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ 1.พระปิดตามหาอุดโดยสมบูรณ์เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้า นั่งยองหรือพระเจ้าในครรภ์ พระปิดตากุมารในครรภ์ 2.พระ ปิดตานั่งขัดสมาธิยกหัตถ์ปิดทวารทั้งเก้า ความหมายเดิมคือพระเจ้าเข้านิโรธ ควรใช้ศัพท์เรียกว่า “ภควัม” ปิด ตานั่งขัดสมาธิ หรือพระเจ้าเข้านิโรธสมบัติ ผิดลักษณะจากทารกในครรภ์ ตามเหตุผลแล้วการเข้านิโรธ ไม่เป็นการปิด ทวารอะไร 3.พระปิดตานั่งขัดสมาธิ ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์ เว้นส่วนอื่น เป็นพระเมตตามหานิยมและลาภผล เรียกว่า “ พระควัมปติ” พระปิดตา ถึงจะแบ่งตามลักษณะที่กล่าวมาแต่ พุทธคุณในองค์พระ(พระปิดตา)อาจจะไม่เป็นแบบที่กล่าวมาเสมอไปอยู่ ที่พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างจะบรรจุพุทธคุณอธิษฐานจิตให้พระปิดตามีพุทธคุณตาม ที่ท่านต้องการ ส่วนพระคาถาที่มีนิยมใช้อาราธนาพระปิดตา นะโมพุทธัสสะ คะวัมปะติสสะ นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ สุขา สุขะ วะรัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา เจวะ เสกขา ธัมมา ยะธาพุทโมนะ ฯ เป็นโภคทรัพย์ เจริญด้วยโชคภาลเมตตามหานิยม ...................... พระคาถาพิมพ์พระภควัมปติ ปิดตา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม